Questions? +1 (202) 335-3939 Login
Trusted News Since 1995
A service for global professionals · Thursday, July 17, 2025 · 831,575,486 Articles · 3+ Million Readers

อินโดนีเซียเร่งปิดดีลการค้าสหรัฐฯ 34 พันล้านดอลลาร์ เดินเกมรุกสร้างอำนาจต่อรองก่อนมาตรการภาษี

วัดบาหลีริมทะเลสาบที่เงียบสงบ พร้อมภาพซ้อนธงชาติสหรัฐฯ สื่อถึงข้อตกลงทางการค้ามูลค่า 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างอินโดนีเซียกับบริษัทสหรัฐฯ ท่ามกลางความตึงเครียดเรื่องภาษีโลก – EBC

อินโดนีเซียเดินเกมการทูตการค้าอย่างแข็งขันด้วยดีลธุรกิจกับสหรัฐฯ มูลค่า 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ — EBC Financial Group วิเคราะห์ผลกระทบเชิงกลยุทธ์ต่อห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคอาเซียน

EBC Financial Group วิเคราะห์ข้อเสนอการค้าเชิงกลยุทธ์ของอินโดนีเซีย ท่ามกลางแรงกดดันภาษียุคทรัมป์ที่คุกคามการส่งออกอาเซียน

INDONESIA, July 17, 2025 /EINPresswire.com/ -- ท่ามกลางเส้นตายมาตรการภาษีที่จะมีผล 1 สิงหาคมนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียเร่งเดินหน้าสร้างหลักประกันทางเศรษฐกิจ ด้วยการขยับหมากเชิงรุก ไม่เพียงแค่ตอบโต้แรงกดดันการค้าโลก แต่ยังแสดงจุดยืนชัดในฐานะผู้กำหนดทิศทางการค้า ล่าสุด รัฐบาลอินโดนีเซียผลักดันให้เกิดการลงนามข้อตกลงทางการค้ารวมมูลค่า 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างบริษัทอินโดนีเซียและบริษัทสหรัฐฯ ครอบคลุมหลายอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น พลังงาน เกษตรกรรม การบิน และแร่ธาตุ เพื่อบรรเทาความตึงเครียดทางการค้ากับวอชิงตัน ควบคู่ไปกับการสร้างผลประโยชน์ระยะยาวให้กับอุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทาน และแรงงานในประเทศ

ตามรายงานจากสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ณ กรุงวอชิงตัน ข้อตกลงเหล่านี้เกิดขึ้นจากการประชุมระดับสูงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยรัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงและสนับสนุนการเจรจาระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ที่ได้คือการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoUs) หลายฉบับ ซึ่งจะช่วยเปิดโอกาสใหม่ให้กับภาคธุรกิจอินโดนีเซีย และเสริมความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจในระยะยาว

เดวิด บาร์เร็ตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EBC Financial Group (UK) Ltd. กล่าวว่า “อินโดนีเซียกำลังก้าวเข้าสู่เวทีเจรจาในฐานะหุ้นส่วนทางการค้าคนสำคัญ ไม่ใช่เพียงเป้าหมายการจัดเก็บภาษี สิ่งที่น่าสนใจไม่ใช่แค่ขนาดของดีลนำเข้าเท่านั้น แต่คือประเด็นสำคัญที่ซ่อนอยู่ ทั้งด้านความมั่นคงทางพลังงาน ความยั่งยืนทางการเกษตร และการเข้าถึงแร่ธาตุเชิงกลยุทธ์ เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ภาษี แต่นี่คือการกำหนดทิศทางห่วงโซ่อุปทานในอนาคต”

ภาษีใหม่จ่อบังคับใช้ แต่อินโดนีเซียเดินเกมรุกสร้างอำนาจต่อรอง

ข้อตกลงทางการค้าครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่สหรัฐฯ กำลังพิจารณาจัดเก็บภาษีพื้นฐาน 10% สำหรับสินค้านำเข้าทั้งหมด และอาจจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมอีก 32% โดยเฉพาะสินค้าส่งออกจากอินโดนีเซีย หากยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใหม่ภายในวันที่ 1 สิงหาคม ภาษีที่เสนอใหม่นี้อาจกระทบสินค้าหลายกลุ่ม ตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงสิ่งทอ ทำให้จาการ์ตาต้องขยับล่วงหน้าเพื่อปกป้องความมั่นคงทางการค้า

หนึ่งในข้อตกลงสำคัญคือดีลนำเข้าข้าวสาลีมูลค่า 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยหนุนอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและโรงโม่แป้งในประเทศ โดยมีบริษัทท้องถิ่นรายใหญ่ เช่น FKS Group และ Sorini Agro Asia Corporindo ร่วมลงนามกับยักษ์ใหญ่ธุรกิจการเกษตรจากสหรัฐฯ อย่าง Cargill

ด้านพลังงาน บริษัท PT Pertamina ได้ลงนามข้อตกลงจัดซื้อใหม่ ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อราคามาตรฐานก๊าซ LPG ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เตือนว่าราคาจะต้องสามารถแข่งขันกับซัพพลายเออร์เดิมได้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อภาระเงินอุดหนุนพลังงานของรัฐ โดย Pertamina ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อเพิ่มการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และน้ำมันสำเร็จรูปจากสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนกระจายแหล่งพลังงานและสร้างความมั่นคงด้านเชื้อเพลิงให้กับประเทศ

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางส่วนเตือนว่า การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงต้องรักษาราคาที่แข่งขันได้ และต้องพิจารณาผลประโยชน์เปรียบเทียบกับสภาพอุปทานในประเทศ หากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจากสหรัฐฯ สูงกว่าผู้จัดหาเดิมมากเกินไป อาจสร้างแรงกดดันต่อสมดุลเงินอุดหนุนพลังงานของอินโดนีเซียได้

แก้สมดุลขาดดุลการค้า พร้อมเดินหน้าลึกเชื่อมพันธมิตร

แม้ปัญหาดุลการค้ายังคงเป็นประเด็นทางการเมืองในสหรัฐฯ แต่ข้อมูลจากสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ชี้ว่า ในปี 2024 สหรัฐฯ มีตัวเลขขาดดุลการค้าสินค้ากับอินโดนีเซียสูงถึง 17.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.4% สะท้อนให้เห็นว่าข้อตกลงครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปรับกลยุทธ์เชิงรุกของจาการ์ตาในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางการค้าในระดับโลก

“อินโดนีเซียไม่ได้ตั้งรับ แต่กำลังเจรจาจากจุดแข็ง” เดวิด บาร์เร็ตต์ กล่าวเสริม “ในช่วงเวลาที่โลกกำลังพยายามปรับสมดุลการค้าใหม่ สหรัฐฯ ต้องการพันธมิตรที่เชื่อถือได้ด้านแร่ธาตุเชิงกลยุทธ์ และนี่คือแต้มต่อสำคัญของอินโดนีเซีย”

นอกจากมูลค่าดีลที่เป็นข่าวใหญ่ สิ่งที่เห็นได้ชัดคือความตั้งใจของอินโดนีเซียในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำกลยุทธ์การค้าในภูมิภาค ผ่านการสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร เสริมความมั่นคงด้านพลังงาน และยึดบทบาทระยะยาวในห่วงโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ของโลก แนวทางของจาการ์ตาถือว่าแตกต่างจากหลายประเทศในภูมิภาค เพราะนำข้อเสนอจริงมาวางบนโต๊ะเจรจาอย่างชัดเจน

มองไปข้างหน้า: จุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจและตลาดอินโดนีเซีย

สำหรับอินโดนีเซีย แพ็คเกจการค้าครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงสัญญาณทางการทูต แต่ยังเป็นกลยุทธ์ภายในประเทศที่มีผลเชิงรูปธรรมต่อการจ้างงาน ห่วงโซ่อุปทาน และความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในระยะยาว ประโยชน์ระยะสั้นเห็นได้ชัด ทั้งโอกาสที่ขยายตัวสำหรับเกษตรกรและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ความมั่นคงทางพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากแหล่งเชื้อเพลิงใหม่ และการตอกย้ำบทบาทของอินโดนีเซียในตลาดส่งออกแร่ธาตุระดับโลก สำหรับตลาดการค้า การนำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นอาจดันราคาข้าวสาลีและข้าวโพดของสหรัฐฯ สูงขึ้น และอาจเปลี่ยนทิศทางการค้าธัญพืชในภูมิภาค

ในระยะยาว อินโดนีเซียกำลังวางเดิมพันเชิงกลยุทธ์ ว่าจะสามารถพัฒนาไปไกลกว่าการเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบดิบ ไปสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม และเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียวของโลก

ศึกษามุมมองเพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ได้ที่ www.ebc.com

### 

เกี่ยวกับ EBC Financial Group

ก่อตั้งขึ้นในเขตการเงินชั้นนำของกรุงลอนดอน EBC Financial Group (EBC) เป็นแบรนด์ระดับโลกที่มีชื่อเสียงด้านการให้บริการนายหน้าซื้อขายทางการเงินและการจัดการสินทรัพย์ ผ่านบริษัทในเครือซึ่งได้รับใบอนุญาตและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลในตลาดการเงินหลักทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย หมู่เกาะเคย์แมน มอริเชียส และพื้นที่สำคัญอื่น ๆ EBC เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อย นักลงทุนมืออาชีพ และสถาบัน สามารถเข้าถึงตลาดและโอกาสการซื้อขายทั่วโลก ทั้งในกลุ่มสกุลเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ หุ้น และดัชนีต่าง ๆ

ด้วยรางวัลการันตีคุณภาพหลายรางวัล EBC ยึดมั่นในมาตรฐานจริยธรรมสูงสุด โดยบริษัทย่อยทั้งหมดอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตามกฎหมายในแต่ละประเทศ ได้แก่ EBC Financial Group (UK) Limited อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ UK Financial Conduct Authority (FCA), EBC Financial Group (Cayman) Limited อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Cayman Islands Monetary Authority (CIMA), EBC Financial Group (Australia) Pty Ltd และ EBC Asset Management Pty Ltd อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Australian Securities and Investments Commission (ASIC) และ EBC Financial (MU) Ltd ได้รับอนุญาตและกำกับดูแลโดย Financial Services Commission Mauritius (FSC)

หัวใจสำคัญของ EBC คือทีมงานผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์กว่า 40 ปี ในสถาบันการเงินระดับโลก ผ่านการฝ่าฟันวิกฤตเศรษฐกิจสำคัญมาแล้วนับตั้งแต่ Plaza Accord, วิกฤตฟรังก์สวิสปี 2015 ไปจนถึงความผันผวนของตลาดช่วงการระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ EBC สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดถือความซื่อสัตย์ ความเคารพ และความปลอดภัยของสินทรัพย์ลูกค้าเป็นหัวใจหลัก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าทุกความสัมพันธ์กับนักลงทุนจะได้รับการดูแลอย่างจริงจังสูงสุด

ในฐานะ พันธมิตรด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างเป็นทางการของสโมสรฟุตบอล FC Barcelona EBC ให้บริการพิเศษครอบคลุมเอเชีย ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง แอฟริกา และโอเชียเนีย อีกทั้งยังร่วมมือกับ United to Beat Malaria เพื่อสนับสนุนโครงการด้านสุขภาพระดับโลก และสนับสนุนโครงการ ‘What Economists Really Do’ ของภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เพื่อช่วยให้สาธารณชนเข้าใจเศรษฐศาสตร์เชิงลึกและการประยุกต์ใช้ต่อประเด็นสำคัญของสังคม พร้อมสร้างบทสนทนาเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันในวงกว้าง

https://www.ebc.com/

Michelle Siow
EBC Financial Group
+60 163376040
michelle.siow@ebc.com
Visit us on social media:
LinkedIn
Instagram
Facebook
YouTube
X
Other

Powered by EIN Presswire

Distribution channels: Banking, Finance & Investment Industry, Business & Economy, Culture, Society & Lifestyle, U.S. Politics, World & Regional

Legal Disclaimer:

EIN Presswire provides this news content "as is" without warranty of any kind. We do not accept any responsibility or liability for the accuracy, content, images, videos, licenses, completeness, legality, or reliability of the information contained in this article. If you have any complaints or copyright issues related to this article, kindly contact the author above.

Submit your press release